บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมมือน้อยสร้างสรรค์
วัสดุอุปกรณ์ อาจารย์แจกวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม ได้แก่ กระดาษ A 4 และถุงมือคนละ 1 ข้าง
คำสั่ง ให้นักศึกษาใส่ถุงมือข้างที่ไม่ถนัด แล้ววาดภาพมือตัวเองที่อยู่ในถุงมือ (วาดอย่างละเอียด วาดให้เหมือนจริงมากที่สุด แม้กระทั่ง รอยย่น เส้นเลือด รูขุมขน เล็บ รอยตำหนิ)
คำสั่ง ให้นักศึกษาใส่ถุงมือข้างที่ไม่ถนัด แล้ววาดภาพมือตัวเองที่อยู่ในถุงมือ (วาดอย่างละเอียด วาดให้เหมือนจริงมากที่สุด แม้กระทั่ง รอยย่น เส้นเลือด รูขุมขน เล็บ รอยตำหนิ)
สรุป......
การเปรียบเทียบมือที่วาดเป็นเด็ก 1 คน เราเห็นเด็กทั้งวันทั้งเทอม ขนาดเราเห็นมือตัวเองมา 20 ปี 7300 กว่าวัน เราเองยังจำมือเราไม่ได้ ฉะนั้นการบันทึกพฤติกรรมเด็ก ครูอย่าฉะล่าใจว่าจำได้ ครูควรมีสมุดบันทึกติดตัวไว้เสมอ เพราะเด็กพิเศษมีอะไรที่น่าสนใจ แปลกใหม่ เมือเด็กเกิดพฤติกรรมควรบันทึกไว้ทันที
**ครูส่วนใหญ่ถ้าหากไม่บันทึกพฤติกรรมเด็กตลอดเวลา จะเกิดพฤติกรรมดังนี้**
1.มโมไปเอง
2.ใส่ความรู้สึกส่วนตัวเข้าไป
3.ปรึกษาคนรอบข้าง
กิจกรรมที่ 2 การเรียนการสอนในเนื้อหาเรื่อง..การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนะคติ
- อบรมระยะสั้น
- สัมมนา
- สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
- รู้จักเด็กแต่ละคน
- มองเด็กให้เป็นเด็ก
- เด็กเหมือนกันมากกว่าที่จะแตกต่างกัน
* จำชื่อเด็กทุกคน ชื่อจริง นามสกุล ชื่อเล่น เด็กพิเศษจะรู้สึกว่าเหมือนกับเพื่อน ไม่รู้สึกต่างจากเพื่อน*
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
- การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย (มองเด็กให้ออก แล้วดูว่าใช่หรือไม่ใช่ มองแล้วอย่าโฆษณาบอกใคร มองเด้กทุกคน มองในภาพรวม อย่าไปชะงักเด็กเกินไป มองเด็กพิเศษแล้วมองเด็กปกติด้วย)
- วุฒิภาวะ : ของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
- แรงจูงใจ : ของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
- โอกาส : ในห้องเรียนมีโอกาศเท่ากัน ห้องเรียนรวมที่ดี ควรมีขีดจำกัดน้อยที่สุด เด็กมีโอกาสเยอะ เด็กพิเศษ มีโอกาศรับรู็น้อยกว่าเด็กปกติ แต่ครูสามารถมีขีดจำกัดให้เด็กได้รับรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน
ความพร้อมของเด็ก
การสอนโดยบังเอิญ
- ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
- เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาศในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
- ครูจะต้องมีความสนใจเด็ก
- ครูจะต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
- ถ้าเด็กมาปรึกษาครู อย่าใช้เวลานานเกินไป จะต้องแบ่งเวลาให้ดี แล้วรีบไดูเด็กคนอื่น
- มีลักษณะง่าย
- ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
- สื่อที่ดีไม่แบ่งแยกเพศเด็ก
- สื่อที่มีการเล่นไม่ตายตัว เล่นได้หลากหลาย
- กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
- เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
- คำนึงถึงความเหมาะสมของเวลา
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
- การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
- เด็กทุกคนมีศักยภาพอยู่ในตัว
เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- โน้มน้าวจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลทันที
- ส่งเสริมให้เด็กเกิดพฤติกรรมนั้นบ่อยๆ
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
- ตอบสนองด้วยวา จา เช่น ชม น่ารัก
- การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
- พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
- สัมผัสทางกาย เช่น การกอด ลูบ จับ การสัมผัสอย่างเต็มใจเด็กพิเศษชอบมาก
- ให้ความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
- ไม่ชมเลยเถิด
การแนะนำหรือบอกบท (prompting)
- การย่อยงาน อย่างละเอียด เป็นขั้นตอนฃ
- ลำดับความยากง่ายของงาน
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
- การกำหนกเวลา ให้พอดี ไม่นานจนเกินไป
- ความต่อเนื่อง การสอนแบบก้าวหน้า หรือ ย้อนมาจากข้างหลัง
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ทำอย่างอื่นไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์ของของเล่นออกไปจากตัวเด็ก
- เอาเด็กออกจากของเล่น
กิจกรรมท้ายชั่วโมง
- การตอบคำถาม P0st Test ช่วยกันตอบคำถามรต่วมกันทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อเป็นการทบทวนจากเนื้อหาที่เรียน
- การฝึกร้องเพลง 5 เพลง ดังนี้
2.เพลง..ผลไม้
3.เพลง..กินผักกัน
4.เพลง..ดอกไม้
5.เพลง..จ้ำจี้ดอกไม้
การนำไปประยุกต์ใช้
- การบันทึกพฤติกรรมของเด็กพิเศษควรบันทึกในทันทีทันใด เมื่อเด็กเดิกพฤติกรรมที่น่าสนใจ แปลกใหม่ บันทึกทุกขั้นตอน จดบันทึกอย่างละเอียด อะไรคือ จุดด้อย จุดเด่น อะไรที่ควรส่งเสริม และควรแก้ไข เพื่อจะเป็นแนวทางในการเขียนแผน IEP
- ห้องเรียนรวมที่ดี ควรมีขีดจำกัดน้อยที่สุด เด็กมีโอกาสเยอะ เด็กพิเศษ มีโอกาศรับรู็น้อยกว่าเด็กปกติ แต่ครูสามารถมีขีดจำกัดให้เด็กได้รับรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน
- ครูจะต้องมีความคงเส้นคงวา ต้นเทอมแบบไหน ปลายเทอมสอนอย่างนั้น
การประเมินผล
การประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ตั้งใจ จดบันทึก การทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ มีความพร้อมในการเรียนการสอน
การประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนบางส่วนๆ ส่งเสียงดัง เนื่องจากเรียนร่วมกับเพื่อนอีกหนึ่งกลุ่มเรียน เพราะเนื่องจากอาจารย์ ติดประชุมช่วงบ่าย แต่ส่วนรวมแล้วตั้งใจเรียนดี ช่วยกันตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นภายในห้อง ตั้งใจทำกิจกรรมจากที่อาจารย์มอบมาย
การประเมินอาจารย์
อาจารย์มีเทคนิกการนำเข้าสู่บทเรียนได้ดี สามารถเชื่อมโยงจากกิจกรรมเข้าสู่เนื้อหาที่เรียน สอนได้เข้าใจ มีความสนุกสนานในชั้นเรียน การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ ไม่ง่วงนอน ชอบอาจารย์ร้องเพลง อาจารย์ร้องเพลงเพราะมีลูกเอื้อนเก่ง