วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมที่ 1    กิจกรรมมือน้อยสร้างสรรค์
วัสดุอุปกรณ์   อาจารย์แจกวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม ได้แก่ กระดาษ A 4  และถุงมือคนละ 1 ข้าง

คำสั่ง   ให้นักศึกษาใส่ถุงมือข้างที่ไม่ถนัด แล้ววาดภาพมือตัวเองที่อยู่ในถุงมือ (วาดอย่างละเอียด วาดให้เหมือนจริงมากที่สุด แม้กระทั่ง รอยย่น  เส้นเลือด รูขุมขน  เล็บ  รอยตำหนิ) 




 สรุป......
            การเปรียบเทียบมือที่วาดเป็นเด็ก 1 คน  เราเห็นเด็กทั้งวันทั้งเทอม ขนาดเราเห็นมือตัวเองมา 20 ปี  7300 กว่าวัน  เราเองยังจำมือเราไม่ได้  ฉะนั้นการบันทึกพฤติกรรมเด็ก ครูอย่าฉะล่าใจว่าจำได้ ครูควรมีสมุดบันทึกติดตัวไว้เสมอ  เพราะเด็กพิเศษมีอะไรที่น่าสนใจ แปลกใหม่   เมือเด็กเกิดพฤติกรรมควรบันทึกไว้ทันที
**ครูส่วนใหญ่ถ้าหากไม่บันทึกพฤติกรรมเด็กตลอดเวลา จะเกิดพฤติกรรมดังนี้**
1.มโมไปเอง
2.ใส่ความรู้สึกส่วนตัวเข้าไป
3.ปรึกษาคนรอบข้าง
กิจกรรมที่ 2 การเรียนการสอนในเนื้อหาเรื่อง..การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนะคติ
  • อบรมระยะสั้น
  • สัมมนา
  • สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
  • รู้จักเด็กแต่ละคน
  • มองเด็กให้เป็นเด็ก
  • เด็กเหมือนกันมากกว่าที่จะแตกต่างกัน  
 * จำชื่อเด็กทุกคน  ชื่อจริง  นามสกุล ชื่อเล่น เด็กพิเศษจะรู้สึกว่าเหมือนกับเพื่อน ไม่รู้สึกต่างจากเพื่อน*
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
  • การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย (มองเด็กให้ออก  แล้วดูว่าใช่หรือไม่ใช่ มองแล้วอย่าโฆษณาบอกใคร  มองเด้กทุกคน  มองในภาพรวม อย่าไปชะงักเด็กเกินไป  มองเด็กพิเศษแล้วมองเด็กปกติด้วย)
  • ความพร้อมของเด็ก
  • วุฒิภาวะ : ของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
  • แรงจูงใจ : ของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
  • โอกาส  :  ในห้องเรียนมีโอกาศเท่ากัน  ห้องเรียนรวมที่ดี ควรมีขีดจำกัดน้อยที่สุด เด็กมีโอกาสเยอะ    เด็กพิเศษ  มีโอกาศรับรู็น้อยกว่าเด็กปกติ  แต่ครูสามารถมีขีดจำกัดให้เด็กได้รับรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน
การสอนโดยบังเอิญ
  • ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
  • เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาศในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
  • ครูจะต้องมีความสนใจเด็ก
  • ครูจะต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
  • ถ้าเด็กมาปรึกษาครู  อย่าใช้เวลานานเกินไป  จะต้องแบ่งเวลาให้ดี แล้วรีบไดูเด็กคนอื่น
อุปกรณ์
  • มีลักษณะง่าย
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • สื่อที่ดีไม่แบ่งแยกเพศเด็ก
  • สื่อที่มีการเล่นไม่ตายตัว เล่นได้หลากหลาย
ตารางประจำวัน
  • กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
  • เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
  • คำนึงถึงความเหมาะสมของเวลา
ทัศนคติของครู

ความยืดหยุ่น
  • การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้

เด็กทุกคนสอนได้
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
  • เด็กทุกคนมีศักยภาพอยู่ในตัว
เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
  • โน้มน้าวจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลทันที
  • ส่งเสริมให้เด็กเกิดพฤติกรรมนั้นบ่อยๆ
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
  • ตอบสนองด้วยวา จา เช่น ชม  น่ารัก
  • การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก 
  • พยักหน้ารับ  ยิ้ม  ฟัง
  • สัมผัสทางกาย  เช่น การกอด  ลูบ จับ  การสัมผัสอย่างเต็มใจเด็กพิเศษชอบมาก
  • ให้ความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  • ไม่ชมเลยเถิด
การแนะนำหรือบอกบท (prompting)
  • การย่อยงาน อย่างละเอียด  เป็นขั้นตอนฃ
  • ลำดับความยากง่ายของงาน
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • การกำหนกเวลา  ให้พอดี  ไม่นานจนเกินไป
  • ความต่อเนื่อง  การสอนแบบก้าวหน้า หรือ ย้อนมาจากข้างหลัง
 การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • ทำอย่างอื่นไม่สนใจเด็ก
  • เอาอุปกรณ์ของของเล่นออกไปจากตัวเด็ก
  • เอาเด็กออกจากของเล่น
กิจกรรมท้ายชั่วโมง
  • การตอบคำถาม P0st Test   ช่วยกันตอบคำถามรต่วมกันทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อเป็นการทบทวนจากเนื้อหาที่เรียน
  • การฝึกร้องเพลง  5 เพลง ดังนี้
1.เพลง..ฝึกกายบริหาร
2.เพลง..ผลไม้
3.เพลง..กินผักกัน
4.เพลง..ดอกไม้
5.เพลง..จ้ำจี้ดอกไม้




 การนำไปประยุกต์ใช้
  • การบันทึกพฤติกรรมของเด็กพิเศษควรบันทึกในทันทีทันใด เมื่อเด็กเดิกพฤติกรรมที่น่าสนใจ แปลกใหม่  บันทึกทุกขั้นตอน  จดบันทึกอย่างละเอียด อะไรคือ จุดด้อย จุดเด่น อะไรที่ควรส่งเสริม และควรแก้ไข  เพื่อจะเป็นแนวทางในการเขียนแผน IEP
  • ห้องเรียนรวมที่ดี ควรมีขีดจำกัดน้อยที่สุด เด็กมีโอกาสเยอะ เด็กพิเศษ มีโอกาศรับรู็น้อยกว่าเด็กปกติ แต่ครูสามารถมีขีดจำกัดให้เด็กได้รับรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน
  • ครูจะต้องมีความคงเส้นคงวา ต้นเทอมแบบไหน ปลายเทอมสอนอย่างนั้น


การประเมินผล

การประเมินตนเอง

                   มาเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน  ตั้งใจ จดบันทึก  การทำกิจกรรมอย่างเต็มที่   มีความพร้อมในการเรียนการสอน

การประเมินเพื่อน
     
                    วันนี้เพื่อนบางส่วนๆ  ส่งเสียงดัง เนื่องจากเรียนร่วมกับเพื่อนอีกหนึ่งกลุ่มเรียน เพราะเนื่องจากอาจารย์ ติดประชุมช่วงบ่าย  แต่ส่วนรวมแล้วตั้งใจเรียนดี ช่วยกันตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นภายในห้อง ตั้งใจทำกิจกรรมจากที่อาจารย์มอบมาย

การประเมินอาจารย์

                    อาจารย์มีเทคนิกการนำเข้าสู่บทเรียนได้ดี สามารถเชื่อมโยงจากกิจกรรมเข้าสู่เนื้อหาที่เรียน  สอนได้เข้าใจ  มีความสนุกสนานในชั้นเรียน  การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ ไม่ง่วงนอน  ชอบอาจารย์ร้องเพลง อาจารย์ร้องเพลงเพราะมีลูกเอื้อนเก่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น