วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันศุกร์ที่  1  เดือนเมษายน พ.ศ.2558

ครั้งที่ 16  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เป็นการสอบร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย   โดยอาจารย์จะมีสลากมาให้ 2 กล่อง  กล่องแรกจะเป็นรายชื่อนักศึกษา  กล่องที่สองจะเป็นรายชื่อเพลง  กติกามีอยู่ว่าอาจารย์จะเป็นคนจับสลากชื่อนักศึกษาขึ้นมาว่าใครจะเป็นคนออกมาสอบร้อง  เมื่อนักศึกษาออกมาแล้วก็ต้องหยิบสลากชื่อเพลงในการสอบ

กติกาการให้คะแนนมี ดังนี้
  • เปลี่ยนเพลงหัก 0.5 คะแนน
  • ดูเนื้อเพลงหัก 1 คะแนน
  • เพื่อนช่วยร้องใช้ตัวช่วยหัก 1 คะแนน
  • ไม่ดูเนื้อร้อง  5 คะเเนน
  • ถ้าหยิบสลากได้เพลงลุงมาชาวนา ได้คะแนนเพิ่มอีก 1 คะแนน
**เพลงที่ดิฉันหยิบสลากได้ คือเพลง กินผักกันเถอะเรา**

เมื่อสอบร้องเพลงเสร็จพวกเรามาถ่ายภาพร่วมกัน


 
 
 
 
การนำไปใช้
 
เพลงสำหรับเด็กครูทุกคนควรฝึกร้อง   เพลงสำหรับเด็กสามารถนำไปใช้ได้ทุกกิจกรรมบูรณาการได้หลากหลาย  เพลงเป็นสื่อที่เด็กชอบ  สามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้
 
การประเมินผล
 
ประเมินตนเอง
 
              วันนี้มาเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  มีความพร้อมในการสอบ  ท่องเพลง ฝึกร้องมา  ตื่นเต้นมาก  เพราะเป็นการหยิบสลากวัดดวง ลุ้นแทบลืมเนื้อเพลง  เเต่ก็ดีค่ะหยิบสลากมีความยุติธรรมดี  กว่าจะถึงชื่อของดิฉัน ลุ้นมาก  ตื่นเต้นมาก แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี
 
ประเมินเพื่อน
 
               วันนี้เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย มีความพร้อมในการสอบมาก  ลุ้นตื่นเต้นมาก   เพื่อนช่วยเพื่อนร้องเพลง ช่วยปรบมือ ในขณะที่เพื่อนร้องเพลง แสดงถึงความมีน้ำใจ  การช่วยเหลือร่วมมือกัน  กลุ่มเรียนของพวกเรานี้เป็นกลุ่มที่มีความแตกต่างกันของแต่ละกลุ่มแต่ก็สามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างสามัคคี  อีกอย่างเพราะความผูกพันธ์ที่ได้เรียนด้วยกันมา 2 เทอมแล้ว  ขอให้รักกัน อยู่แบบนี้ด้วยกันไปตลอดน่ะค่ะ
 
ประเมินอาจารย์
 
              อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายเรีบบร้อง  มีความยุติธรรมในการสอบโดยการหยิบสลาก  ตลอดเวลาที่ผ่านมา 1 เทอม อาจารย์ได้ให้ความรู้  ประสบการณ์ต่างๆมากมายที่จะนำไปเป็นแบบอย่างได้ในอนาคต  เทอมหน้าเศร้าใจจังไม่ได้เรียนกับอาจารย์แล้ว  อยากเรียนกับอาจารย์ รักอาจารย์น่ะค่ะ  เพราะอาจารย์สอนดี  เข้าใจนักศึกษา มีอะไรคุยได้ปรึกษาได้  
 
 

ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธที่  22  เดือนเมษายน พ.ศ.2558

ครั้งที่ 15  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้การนำเข้าสู่บทเรียนด้วยแบบทดสอบ "ดิ่งพสุธา" เป็นแบบทดสอบทางจิตวิทยาเกี่ยวกับการกระโดดร่ม สนุกสนานมาก 
  • การเรียนการสอนในวันนี้เรียนเรื่อง ''โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล''
การเขีนยแผน IEP  แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น  เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน  และการช่วยฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการของเรา  การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเด็ก  โดยการระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีวัดการประเมินผลของเด็ก

การเขียนแผน IEP 
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • รู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะได้ทราบว่าเราจะช่วยเหลือเด็กตรงจุดไหน  ทักษะใด  เด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง ไม่สามารถทำอะไรได้บ้าง
  • นำมาเขียนแผน
IEP   ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความเป็นต้องได้รับการพิเศษอะไร
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี/ระยะสั้น
  • ระบุวัน  เดือน  ปี ที่เราทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตนเอง
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงตามความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • สามารถปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนเองอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก  มีการติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

การเก็บรวมรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้เกี่ยวข้อง
การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมาย ระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • ต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การใช้แผน
  • ครูนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน
  • จะต้องมีการสังเกตการเก็บรวมรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด้กและความสามารถของเด็ก
การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
  • การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์ต่างกัน
งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้

อาจารย์ให้จับกลุ่ม  กลุ่มละ 5 คน ช่วยกันคิด วางแผน การเขียนแผน IEP  โดยกำหนดให้สมาชิกใครคนใดในกลุ่มเป็นเด็กพิเศษ และช่วยกันคิดว่าเป็นเด็กพิเศษประเภทใด  ซึ่งกลุ่มดิฉัน  ดิฉันอาสาสมัครเป็นเด็กพิเศษเอง  เป็นเด็กพิเศษ (ดาวน์ซินโดม)  ช่วยกันคิดเสร็จแล้วส่งงานท้ายคาบ
การนำไปใช้

การเรียนการสอนในวันนี้ทำให้เราได้เข้าใจในเนื้อหารายละเอียด และได้ฝึกเขียนแผน IEP  เพื่อที่จะได้นำไปใช้ในอนาคต
 
การประเมินผล
 
ประเมินตนเอง
 
              วันนี้แต่งกายเรียนร้อย  ตั้งใจเรียน เข้าใจว่าการเขียนแผน IEP เขียนอย่างไร  จากที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเขียนมาก่อน   สามารถช่วยเพื่อนคิดในการเขียนแผน IEP ของกลุ่มตนเองได้
 
ประเมินเพื่อน
 
              วันนี้เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลา   ตั้งใจเรียน  อาจจะงอแงบ้าง  เพราะเนื้อหารายละเอียดที่เรียนในวันนี้ค่อยข้างเยอะ  แต่ก็ช่วยกันคิด ช่วยกันเขียนแผน IEP   จนเสร็จครบหมดทุกกลึ่ม
 
ประเมินอาจารย์
 
              อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจสอน  อธิบายอย่างละเอียด  ทำให้เข้าใจมากขึ้น  ให้คำแนะนำและยกตัวอย่างในการเขียนแผน มีความใส่ใจนักศึกษาโดยการเดินดูกระบวนการคิด  การวางเเผนของแต่ละกลุ่ม  
 
 
 

ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธที่  15  เดือนเมษายน พ.ศ.2558


ครั้งที่ 14  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

 
 
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุด**วันสงกรานต์**
 



ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธที่  8  เดือนเมษายน พ.ศ.2558


ครั้งที่ 13  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


 ความรู้ที่ได้รับ

 1.เฉลยข้อสอบ  ว่ามีใครผิดข้อไหนบ้าง  คำตอบที่ถูกคืออะไร  ทำความเข้าใจร่วมกัน

2.การเรียนการสอนในวันนี้ เรียนเรื่อง ''การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ  ทักษะทางการเรียน''
 
เป้าหมาย
 
  • การช่วยเหลือให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง 
  • เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
  • พัฒนาความกระตือรือร้น  อยากรู้อยากเห็น

ช่วงความสนใจ

  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่น
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ

การทำตามคำสั่ง  คำแนะนำ

  • เด็กได้ยินเสียงที่ครูพูดชัดหรือไม่

  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่ (ไม่ควรใช้คำศัพท์ที่ยากเกินไป)

  • คำสั่งครูยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่ (สั่งหลายรอบ  บางครั้งเด็กไม่ได้ยิน)

การรับรู้  การเคลื่อนไหว

  • ได้ยิน  เห็น  สัมผัส  ลิ้มรส  กลิ่น

  • ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

  • การกรอกน้ำ  ตวงน้ำ

  • ต่อบล็อก

  • ศิลปะ

  • มุมบ้าน

  • ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

  • ลูกปัดขนานใหญ่ 

  • รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก




ความจำ

  • การสนทนา   

  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร

  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง

  • จำตัวละครในนิทาน

  • จำชื่อครู ชื่อเพื่อน

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

  • จัดกลุ่มเด็ก

  • เริ่มต้นเรียนรู้ด้วยช่วงเวลาสั้นๆ

  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน

  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง

  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย

  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด

  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ

  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนที่เด็กมาถึง

  • พูดในทางที่ดี (ผลงานเด็กออกมาเป็นอย่างไร  ครูจะต้องพูดชมเด็กไว้เสมอ)

  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว

  • ทำบทเรียนให้สนุก

3.อาจารย์สอนร้องเพลง   เพลงมีทั้งหมด 5 เพลงดังนี้
 


การประเมินผล

ประเมินตนเอง
 
             วันนี้ดิฉันมาเรียนสาย  เเต่งกายไม่เรียบร้อยใส่รองเท้าเตะมา เนื่องจากฝนตกหนักมาก  มาเรียนแบบตัวเปียกหมดเลย  ถึงมาสายแต่ก็ตั้งใจเรียน  ตั้งใจฟังและจดบันทึกสรุปใจความสำคัญจากที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน
 
              วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่มาเรียนสายกันเพราะว่าฝนตกหนัก  บางคนที่บ้านยุไกลก็ไม่สามารถมาเรีย น  วันนี้เพื่อนบางกลุ่มก็ตั้งใจเรียน  บางกลุ่มก็คุยเยอะไปนิดหน่อย

ประเมินอาจารย์
 
             วันนี้ถึงแม้ว่าสภาพอากาศไม่เป็นใจ  แต่อาจารย์ก็ตั้งใจมาสอน  อธิบายและยกตัวอย่างให้เข้าใจชัดเจน  การแต่งกายของอาจารย์ในวันนี้  ใส่เสื้อคล้ายๆคนภาคเหนือ  ดูแปลกไปอีกแบบเพราะไม่เคยเห็นอาจารย์แต่งแบบนี้ แต่หนูว่าน่ารักดีค่ะ เหมาะกับอาจารย์

 
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12


บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธที่  1  เดือนเมษายน  พ.ศ.2558

ครั้งที่ 10  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

 

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีกิจกรรม

**กิจกรรมโครงการกีฬาสีศึกษาศาสตร์สัมพันธ์**


 
 

 
 

 
 
 

 

 

การประเมินผล
ประเมินตนเอง

               วันเตรียมงานดิฉันไม่ได้มาช่วยเพื่อนจัดสถานที่ เนื่องจากปวดท้อง  วันจริงดิฉันมาร่วมเล่นกิจกรรม เล่นเกมส์เบ็ดเตล็ด 3 เกม สนุกสนานมาก จะต้องมีเทคนิค มีสมาธิในการแข่งขัน  แพ้ชนะไม่สำคัญ  เน้นความสนุกสนาน

ประเมินเพื่อน

              เพื่อนในเอกช่วยกันจัดสถานที่  มาร่วมงาน  ร่วมกันทำกิจกรรม  ร่วมกันเก็บสถานที่ มีความสามัคคี

ประเมินอาจารย์

              อาจารย์ช่วยจัดสถานที่  คอยให้คำแนะนำ  คอยอำนวยสะดวกทุกเรื่อง




 

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
 
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
 
วันพุธที่  25  เดือน มีนาคม พ.ศ.2558
 
ครั้งที่ 11  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
 
 
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องการเป็นการสอบเก็บคะแนนในห้องเรียน
 
 
 
 
การประเมินผล
 
 
ประเมินตนเอง
 
            วันนี้ตั้งใจมาสอบ  มีการเตรียมตัวมาล่วงหน้าเล็กน้อย ชอบตื่นข้อสอบ สติตะเริด แต่คำตอบที่เขียนไม่ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะถูกหรือเปล่า  แต่ดิฉันก็ตั้งใจฟังอย่างเต็มที่
 
ประเมินเพื่อน
 
            วันนี้เพื่อนตั้งใจมาสอบกัน  บรรยากาศในห้องค่อยข้างโอเคไม่มีเสียงดังรบกวนคนอื่น บางคนก็ปรึกษากับเพื่อนข้างๆบ้าง 
 
ประเมินอาจารย์
 
           อาจารย์แต่งก่ยเรียบร้อย  ออกข้อสอบได้ดีมากไม่เน้นความรู้ความจำ แต่เน้นปฏิญาณและไหวพริบ  การนำไปใช้  การแก้ปัญหาในสถาการณ์ต่างๆ 
 
 
 
 


ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
 
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
 
วันพุธที่  18  เดือน มีนาคม พ.ศ.2558
 
ครั้งที่ 10  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

 
ความรู้ที่ได้รับ
 
  • วันนี้อาจารย์ให้ทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา  ชื่อแบบทดสอบ ไร่สตรอเบอรี่
 
  • การเรียนการสอนเรื่อง..การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
 
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
 
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
 
การสร้างความอิสระ
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน  เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การได้ทำด้วยตัวเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น(ใจเเข็ง)
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  • ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
  • "หนูทำช้า "   "หนูยังทำไม่ได้"  (ครูห้ามพูด)
จะช่วยเมื่อไหร่
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
  • ดูอารมณืของเด็ก
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)
 
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)
 
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)
 
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)
 
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • จะต้องย่อยงานให้เป็น
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดัลตามขั้นตอน
**ทำไมต้องย่อยงาน เพราะว่าเด็กพิเศษถ้าบอกในภาพรวมแล้วจะไม่รู้เรื่อง  ทำไม่ถูก**
 
การเข้าห้องส้วม
 
การวางแผนทีละขั้นตอน--แยกกิจกรรมย่อยๆให้มากที่สุด
 
สรุป....
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • *ความสำเร็จขั้นเล็กนำไปสู่ความสำเร็จทั้งหมด*
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพิ่งตนเองได้  รู้สึกเป็นอิสระ

กิจกรรมศิลปะบำบัด

 
 
 
 
1.อาจารย์แจกกระดาษร้อยปอนด์แผ่นใหญ่ให้ช่วยกันตัด โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน เท่าๆกัน  จะได้กระดาษร้อ ยปอนด์คนละ 1แผ่น
 
 

 
 
 

 
2.เลือกสีเทียนมาคนละ 1 สี  เพื่อระบายเป็นจุดวงกลมตรงกลางกระดาษ จะเป็นวงกลมวงเล็กหรือวงใหญ่ก็ได้
 
 
 
 
 
 3.นำสีต่างๆมาระบายต่อจากวงกลมที่เราระบาย  โดยขนาดของวงกลม มีขนาดเล็และขนาดใหญ่ตามความต้องการ  ระบายจนเมื่อเราพอใจในผลงาน
 

 
 

 
 
4.เมื่อระบายเสร็จแล้ว  พอใจแล้ว  นำกรรไกรมาตัดรอบวงกลมของเรา

เรามาดูความหมายวงกลมของดิฉัน
   
วงแรกสุด---จุดกึ่งกลางเล็กแสดงว่ามีความรู้สึกเบื้องลึก 
ไม่ค่อยมีความมั่นใจ สีชมพู เป็นอ่อนหวาน  นุ่มนวล 
เส้น---เส้นใกล้เคียงกัน ชอบมีความระเบียบ
สี--- สีจากวงนอกสุดบอกถึงตัวตนที่เราแสดงให้คนภายนอกเห็น
 
 
 
 
 
5.นำวงกลมของตนเองไปติดหน้ากระดาษ  โดยการออกไปติดทีละคนจนครบหมดทุกคน
 
                จากการนำวงกลมของตนเองมาแปะเป็นใบไม้ของต้นไม้นั้น  จากลักษณะการแปะ 60 อัน  เวลาแปะทับคนอื่น  แสดงว่าหนูเซลอยากโชว์    การแปะใต้ของคนอื่นแสดงว่าไม่ค่อยมั่นใจในตนเอง   ส่วนการแปะไม่ทับใครแสดงว่าไม่เบียดเบียนคนอื่น  สรุปจากภาพรวมแล้ว  ลักษณะการแปะของแต่ละคนมีการวางแผน   มีความสามัคคีกันภาพออกมาดูสวยงาม
 
 
ประโยชน์จากกิจกรรมนี้
 
                                                          1.รู้จักการวางแผน
                                                          2.ได้ทักษะทางสังคม
                                                          3.ฝึกสมาธิในการระบายสีวงกลม
                                                          4.จินตนาการความคิดสร้างสรรค์
                                                          5.ได้มิติสัมพันธ์ 
                                                          6.คณิตศาสตร์
 
**กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับเด็ก  ออทิสติก   ดาวน์ซินโดม   สมาธิสั้น**
 
 

 
การนำไปใช้
 
                กิจกรรมศิลปะบำบัดวงกลมของฉัน  สามารถนำไปจัดให้กับเด็กพิเศษได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่ผ่อนคลายเด็กชอบ  วงกลมของแต่ละคนยังสามารถบอกถึงความรู้สึกการเป็นตัวตนของตนเองได้  แถมยังเป็นการฝึกเด็กในเข้าสังคมจากการแปะวงกลมของตนเอง



 
การประเมินผล
 
ประเมินตนเอง

             มาเรียนตรงเวลา   แต่งกายเรียบร้อย  วันนี้อากาศในห้องเรียนร้อนมากแอร์ไม่เย็น เหงื่อออกเยอะมากรู้สึกเหนียวตัว  ทำให้การเรียนรับรู้ไม่ค่อยเต็มที่  รู้สึกอยากเลิกเรียนไวๆ  ช่วงกิจกรรมก็ทำให้ดีขึ้นหายร้อนไปนิดหนึ่ง เพราะเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน และได้รู้ตัวตนของเราจริงๆจากผลงานของเรา
 
ประเมินเพื่อน

             วันนี้เป็นการเรียนรวมกันเนื่องจากอาจารย์ติดประชุมตอนเช้า เลยต้องมาเรียนรวมกันกับเซกตอนบ่าย   บรรยากา ศในการเรียนถึงจะร้อนมาก  แต่ทั้งสองเซกนี้ก็สามารถเข้ากันได้ดี  ช่วยกันตอบคำถามแสดงความคิดเห็น แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆร่วมกันได้ดี
 
ประเมินอาจารย์

              อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายเรียนร้อย  อารมณ์ดี  มีกิจกรรมการนำเข้าสู่บทเรียนได้ดี ทำให้มีความสนุกสนาน กระตือรือร้นที่จะเรียน   บรรยาการในการเรียนการสอนอาจจะร้อนไปแต่อาจารย์ก็ต้องใจสอนให้ได้ความรู้อย่างเต็มที่





             


วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9

 
บันทึกอนุทิน
 
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
 
วันพุธที่  11  เดือน มีนาคม พ.ศ.2558
 
ครั้งที่ 9  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

 
  
ความรู้ที่ได้รับ

  • วันนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวการเตรียมตัวสอบบรรจุรับราช

 
  • วันนี้อาจารย์ให้ทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา ชื่อว่า ทุ่งหญ้าซาวันน่า


  • ทบทวนเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย  5 เพลง
  •  


  •  การเรียนการสอนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
 
ทักษะทางภาษา
 
การวัดความสามารถทางภาษา

  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด

  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง (เด็กออกเสียง  ง  ยากที่สุด)
  • ติกอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด (อย่านั่งเพ่งเล็งเด็ก)
  • ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ"   "ตามสบาย"    "คิดก่อนพูด"
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา

  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด (เด็กพิเศษส่วนใหญ่แสดงออกทางร่างกาย สีหน้า  การยิ้ม)
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย

  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง(ครูไม่คาดการณืล่วงหน้า)
การสอนตามเหตุการณ์ Incidental  Teaching

ตัวอย่าง  สมมุติว่าน้องดาวน์ซินโดมอยากใส่ผ้ากันเปื้อน  แต่น้องใส่ติดที่หัว  เมื่อครูเห็นครูเข้าไปคุยกับน้องประโยคแรกที่ครูควรถาม  "น้องจะทำอะไร"   "ทำอะไรลูก" เด็กบางคนอาจจะยื่นผ้ากันเปื้อนให้ครู การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการตอบสนองของเด็ก  ควรควรจะบอกบทให้เด็กย่อยงาน  เป็นขั้นตอนอย่างละเอียด  บางครั้งเด็กไม่ตอบครู ครูอาจจะใส่ผ้ากันเปื้อนให้เด็กเลย  แต่ครูจะต้องย้ำบ่อยๆ รอให้เด็กตอบสนองต่อคำถามก่อน

 


กิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษด้วยเสียงเพลง
 
อุปกรณ์
 
         1.กระดาษร้อยปอนด์
         2.สีเทียน
         3.เสียงเพลงประกอบกิจกรรม
 
คำสั่ง   เลือกสีมาคนละ 1 สี  ลากเส้นพร้อมกันเป็นเส้นตรง  ตามความรู้สึกจากเสียงเพลง  มีข้อแม้ว่าห้ามยกมือขึ้นจนกว่าเพลงจะจบ เมื่อเพลงจบแล้วให้ระบายสีตามช่องปิดครบทุกมุม  ไม่มีช่องว่าง
 
 
 
 
 
 

 

 
 

 
 
  คู่ของดิฉัน
 
 


 
 ผลงานของเรา
 
 
 
 
 
 ผลงานของเพื่อนๆ
 
กิจกรรมนี้ เหมาะสำหรับเด็กออทิสติก   สมาธฺสั้น
 
ประโยชน์ที่ได้รับ
  • ฝึกสมาธิ
  • ความอดทน
  • มิติสัมพันธ์ การเชื่อมโยงพื้นที่ เด็กรู้จักช้องแต่ละช่อง
  • ฝึกการสังเกต
  • เด็กได้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
  • ได้พัฒนากล้ามเนือมัดเล็
การลงสี   เด็กออทิสชอบลงสีเข้ม  ระบายหนัก  เป็นการปลดปล่อยอารมณ์
 
 

 
 
การนำความรู้ไปใช้   
 
วันนี้อาจารยืได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการสอบบรรจุ  ได้รับความรู้และประสบการณ์มากมายที่จะต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือ  ขยัน  แบ่งเวลา  ที่สำคัญควรฝึกร้องเพลงจากที่อาจารย์สอน  เพราะว่าเพลงสามารถนำไป
ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้เป็นอย่างดี
 
 
 
 
การประเมินผล
 
ประเมินตนเอง

             เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน  ตั้งใจทำกิจกรรมการบำบัดด้วยเสียงเพลง  เป็นกิจกรรมที่ดีและมีความสนุกสนาน แต่อาจจะมึนกับช่อง กับสีแต่ละสีไป  เทคนิคการระบายควรระบายทีละสี ระบายกระจายทีละช่อง ทำให้ผลงานเสร็จเร็วกว่าการระบายทีละสีสลับสีกันที่ละช่อง
 
ประเมินเพื่อน

             เพื่อนตั้งใจเรียน  ช่วยการแสดงความคิดเห็น  และการแก้ปัญหาในแต่ละสถานการณ์ต่างๆอย่างสนุกสนาน  บรรยากาศในการทำกิจกรรมในวันนี้เพื่อนตั้งใจทำ พูดไป ทำไป  บ่นไปสนุกสนานมากค่ะ
 
ประเมินอาจารย์

             วันนี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย  ให้ความรุ็เกี่ยวกับการสอบบรรจุ  การเรียนการสอนมีเนื้อหาไม่เยอะเจ้าใจง่าย  มีการยกตัวอย่างเหตุการณ์ต่างๆทำให้เข้าใจมากขึ้น